ถิ่นกำเนิดของยางพารา อยู่ในทวีปอเมริกาใต้บริเวณลุ่มแม่น้ำอเมซอน ในประเทศบราซิล ยางพาราเป็นที่รู้จักของชาวพื้นเมืองในแถบนั้นมานาน มีการนำยางพารามาใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง เช่น ทำขวดปากแคบใส่น้ำ รองเท้า ผ้ากันฝน ลูกบอลสำหรับเล่มเกมส์ต่างๆ เป็นต้น
ชาวยุโรปเพิ่งจะรู้จักยางพาราเมื่อครั้งที่ คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส เดินทางไปอเมริกาครั้งที่ 2 ในระหว่างปี พ.ศ. 2036 - 2039 หลังจากนั้นได้มีการสำรวจ และได้นำเมล็ดยางพาราจากประเทศต่างๆ ในทวีปอเมริกาใต้ไปปลูกในประเทศอาณานิคมของอังกฤษ หลายๆ ประเทศ เช่น ศรีลังกา สิงคโปร์ และมาเลเซีย พืชที่สามารถให้น้ำยาง และสามารถนำมาใช้ผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ได้นั้น ได้แก่ ตระกูล Euphorbiaceae ; Hevea spp. มีถิ่นกำเนิดแถบลุ่มน้ำอเมซอนในประเทศบราซิล เพราะให้น้ำยางในปริมาณที่มากกว่า องค์ประกอบทางเคมีของน้ำยาง ความหนืดของน้ำยาง และอัตราการไหลของน้ำยางที่ดีเหมาะแก่การผลิตเพื่ออุตสาหกรรมในทุกพื้นที่ปลูก มีชื่อเรียกทั่ว ๆ ไปว่า ยางพารา (Para rubber) ตามชื่อเมือง para ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดในบราซิล หรือ Hevea rubber ตามชื่อตระกูล
การนำยางพาราเข้ามาในประเทศไทย
เริ่มตั้งแต่เมื่อครั้ง พระยารัษฎานุประดิษฐ์ มหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง) ขณะที่ดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองตรัง ได้นำยางพาราจากรัฐเปรัค ประเทศมาเลเซีย มาปลูกที่อำเภอกันตรัง จังหวัดตรัง ในระหว่างปี พ.ศ. 2442 – 2444 ซึ่งภายหลังท่านได้ส่งเจ้าหน้าที่ เช่น เจ้าเมือง นายอำเภอ กำนัน และผู้ใหญ่บ้าน ไปศึกษาวิธีปลูกยางพารา และนำมาถ่ายทอดให้แก่ราษฎรที่มีความสนใจ ยางพาราได้กลายเป็นพืชเศรษฐกิจมาตั้งแต่ในอดีต รองลงมาจากข้าว ทำรายได้ให้กับประเทศปีละนับหมื่นล้าน พระยารัษฎานุประดิษฐ์ มหิศรภักดี จึงได้รับการยกย่องและให้เกียรติ์ว่าเป็น “บิดาแห่งยางพาราไทย”
ยางพาราไทย เป็นพืชสำคัญทางเศรษฐกิจที่มีความผูกพันกับชีวิตของคนไทยมาตั้งแต่โบราณนับร้อยๆ ปี ด้วยคุณค่าและความสำคัญของยางพาราที่เป็นทั้งพืชที่รักษ์สิ่งแวดล้อม ยังเป็นพืชสำคัญทางเศรษฐกิจ ทำรายได้ให้กับประเทศรองลงมาจากข้าว ส่วนประกอบต่างๆ ของต้นยางพารา สามารถนำมาประดิษฐ์สร้างสรรค์ให้เป็นผลิตภัณฑ์รักษ์ธรรมชาติ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น การนำใบยางมาประดิษฐ์เป็นงานหัตถกรรม ทำให้เกิดการ่วมมือ สามัคคีในชุมชน และทำให้เกิดรายได้, การนำเมล็ดยางพารามาสกัดเป็นน้ำมันไบโอดีเซล นอกจากจะได้ใช้ผลผลิตจากยางพาราที่ทำให้เกิดคุณค่ามหาศาลแล้ว ยังทำให้การลดการสั่งซื้อน้ำมันจากต่างประเทศ สร้างรายได้ให้แก่ชุมชนอีกทางหนึ่งด้วย ด้วยประโยชน์หลากหลายของต้นยางพารา เป็นต้นไม้ที่มีคุณค่าทั้งทางเศรษฐกิจ และมีคุณสมบัติในการช่วยลดภาวะโลกร้อนได้โดยตรง จากการศึกษาของศูนย์วิจัยฉะเชิงเทรา พบว่า ยางพารามีคุณสมบัติสามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ไม่น้อยกว่า 1.72 เมตริกตัน/ไร่/ปี ปัจจุบันประเทศไทยมีพื้นที่ในการปลูกยางกว่า 14.35 ล้านไร่ ซึ่งสามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศได้ปีละไม่น้อยกว่า 16.54 เมตริกตัน
จะสังเกตได้ว่า ยางพารา เป็นพืชที่มีความเกี่ยวพันกับวิถีชีวิตของคนมายาวนาน มีบทวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการลดภาวะโลกร้อน และเป็นพืชที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจอย่างโดดเด่น และเมื่อเกษตรกรไทยในยุคปัจจุบันได้มีการละทิ้งอาชีพการเกษตร หันไปรับวัฒนธรรมต่างชาติ ที่เน้นเรื่องการผลิตมากๆ เป็นอุตสาหกรรมเข้ามาแทนที่ ทำให้ภูมิปัญญายางพาราที่ดีบางอย่างค่อยๆ เลือนหายไป ทำอย่างไรเราจึงจะช่วยกันฟื้นฟูภูมิปัญญาที่เกี่ยวข้องกับยางพาราให้ทัดเทียมความเจริญก้าวหน้าทางอุตสาหกรรม ด้วยเหตุนี้ ทำให้ผู้ศึกษามีความสนใจศึกษาเรื่อง “ยางพารา ภูมิปัญญาไทย ใส่ใจโลกร้อน” โดยมีวัตถุประสงค์การศึกษาดังนี้
วัตถุประสงค์การศึกษา
- เพื่อศึกษาลักษณะทางพฤษศาสตร์ของต้นยางพาราในประเทศไทยที่สามารถนำมาเสริมสร้างเศรษฐกิจหลักให้ประเทศมีความเข้มแข็ง
- เพื่อศึกษาผลงานวิจัยของต้นยางพารา ที่มีคุณสมบัติทางธรรมชาติ ในการลดภาวะโลกร้อน
- เพื่อศึกษาผลกระทบของภูมิปัญญาที่เกี่ยวข้องกับยางพารา
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
- การศึกษาคุณประโยชน์จากส่วนประกอบต่างๆ ของต้นยางพารา จะทำให้คนในท้องถิ่นหันมาศึกษาการปลูกยางพารา เกิดกระบวนการเรียนรู้สามารถนำส่วนประกอบต่างๆ ของต้นยางพารามาประยุกต์ สร้างสรรค์ให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อสร้างรายได้เพิ่มขึ้น
- ผลการวิจัยการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างยางพารากับสิ่งแวดล้อม พบว่ายางพาราช่วยลดภาวะโลกร้อน เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทำให้คนทั่วไปหันกลับมาใช้ผลิตภัณฑ์ทางธรรมชาติมากขึ้น เป็นการส่งเสริมให้มีการปลูกยางพาราเพิ่มขึ้น
- การที่รัฐบาลให้การสนับสนุนให้ชุมชนมีการปลูกยางพาราโดยการให้ความรู้และฝึกปฏิบัติ เป็นการส่งเสริมให้ประชาชนได้ฟื้นฟูภูมิปัญญาดั้งเดิม เช่น การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เกิดความรักใคร่สามัคคีกัน ทำให้ชุมชนพึ่งพาตนเองได้ มีความเข้มแข็งและยั่ง.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น