วันพุธที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2552

(5) การพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ยางพารา

          การพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์นี้ นอกจากจะมีคุณค่าทางด้านเศรษฐกิจแล้ว ยังมีคุณค่าในด้านประโยชน์ใช้สอย ซึ่งส่วนประกอบของต้นยางพาราแต่ละส่วนนั้น มีคุณอเนกอนันต์ สามารถนำมาใช้ผลิตสินค้าต่างๆ ได้หลากหลาย ล้วนแล้วแต่สร้างรายได้ให้แก่ครอบครัว ชุมชน และประเทศชาติทั้งสิ้น ในอดีต ยางพาราจะมีบทบาทสำคัญในแง่คุณค่าทางเศรษฐกิจเป็นสำคัญ ผลิตภัณฑ์ที่คิดค้นและนำออกจำหน่าย ได้แก่ น้ำยางพารา ซึ่งสามารถนำไปผลิตเป็นสินค้าได้หลากหลายรูปแบบ ตามความต้องการของตลาด ตั้งแต่ผลิตภัณฑ์ชิ้นใหญ่ เช่น ล้อรถยนต์ ล้อรถเครื่องบิน สายพานต่าง ๆ ยางรองพื้น ยางกันกระแทก และผลิตภัณฑ์ชิ้นเล็กๆ เช่นลูกกอล์ฟ พื้นรองเท้า พลาสเตอร์ยา ฯลฯ
          ปัจจุบัน มีการวิจัย คิดค้นการสร้างสรรค์นำส่วนประกอบต่างๆ ของต้นยางพารามาใช้ให้เกิดประโยชน์ มากกว่าการใช้เพียงแค่น้ำยางมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ดังที่กล่าวมาเช่น

ลำต้น  :   
                                                       
                                                
          จากการรณรงค์มิให้มีการตัดไม้ทำลายป่า ทำให้ผู้คนหันมาสนใจนำต้นยางนานาชนิดที่มีอายุมาก หรือไม่สามารถผลิตน้ำยางได้แล้ว มาคิดค้นประดิษฐ์เป็นเครื่องใช้และอุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความต้องการของตลาดทั่วโลก เนื่องจากไม้ยางพาราเป็นไม้ที่มีคุณภาพทางกายภาพใกล้เคียงกับไม้นัก จนได้รับการขนานนามว่า "ไม้สักขาว White Teak" เป็นไม้ที่มีลวดลายสวยงาม น้ำหนักเบา ย้อมสีได้ ที่สำคัญราคาถูกกว่าเมื่อเทียบกับไม้ชนิดอื่นๆ สินค้าที่ผลิตจากไม้ยางพาราและได้รับการยอมรับ เช่น โต๊ะ เก้าอี้ เฟอร์นิเจอร์ เครื่องแกะสลัก ไม้แปรรูป ของเล่นประเทืองปัญญา ฯลฯ การรณรงค์ให้ใช้ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาตินั้น นอกจากจะเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม คน และสัตว์แล้ว ยังสามารถสร้างรายได้ให้แก่ผู้ผลิตหรือชุมชน ส่งผลให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง พึ่งพาตนเองได้
            
ใบยาง                                              
                                                 

                                                 

          สำนักงานวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขต 7 กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ทำการวิจัยใบยางพารา พบว่า ใบยางนี้ มีความเหนียวคงทนกว่าใบไม้ชนิดอื่นๆ มีคุณสมบัติยืดหยุ่นคืนรูปได้ง่าย เมื่อเราทดลองขยี้ดอกไม้ประดิษฐ์ยางพาราจนเหี่ยวยับย่น เมื่อทดลองฉีดน้ำลงไป ดอกจะคลายตัวคืนรูป จะสังเกตได้ว่าดอกจะมีสีสดใสมากขึ้น จึงได้มีการนำใบยางพารา มาสร้างสรรค์เป็นงานหัตถกรรม และได้ถ่ายทอดให้แก่กลุ่มแม่บ้าน หรือผู้สนใจต่างๆ เช่น การนำใบยางมาประดิษฐ์เป็นดอกไม้ หรือแมลงนานาชนิดได้อย่างสวยงาม ลักษณะของใบยางที่นำมาใช้เป็นโครงร่าง จะลอกเนื้อเยื่อที่ใบออกจนหมด ฟอกใบให้ขาวและย้อมสีตามความต้องการ และนำไปจำหน่าย เหมาะเป็นของตกแต่งที่อยู่อาศัยและสำนักงาน ทนทาน ไม่ต้องทะนุถนอมมากนัก เพียงฉีดละอองน้ำสีก็จะกลับมาสดใสเหมือนเดิม                     
        
เมล็ด  : 
                                                

          นับเป็นความโชคดีของประชาชนชาวไทย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีสายพระเนตรยาวไกล ทรงเห็นประโยชน์ของพลังงานทดแทนจากพืช พระองค์ทรงริเริ่มให้มีการวิจัยทดลอง ผลิตและใช้พลังงานทดแทนจากพืช ทั้งเอทานอลที่ใช้ผสมน้ำมันแก๊สโซฮอล์ รวมทั้งการผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันพืชใช้แล้วโดยนำมาจากห้องเครื่องในวัง นำมาผลิตในโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา มานานกว่า 20 ปี  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นความสำคัญของน้ำมันจากพืช ไบโอดีเซลอย่างต่อเนื่อง และขยายผลไปสู่ภาคชนบท โดยในปี พ.ศ. 2528 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรง มีพระราชดำริให้ มหาวิทยาลัยสงขลา นครินทร์ สร้างโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม ณ สหกรณ์นิคมอ่าวลึก จ.กระบี่ เนื่องจากเป็นแหล่งปลูกปาล์มน้ำมันจำนวนมาก และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้าง โรงงานสกัดน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ขนาดเล็กมีกำลังผลิตวันละ 110 ลิตร ณ ศูนย์การศึกษาพัฒนาพิกุลทอง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.นราธิวาส ต่อมาในปี 2543 กองงานส่วนพระองค์ได้ทำวิจัยพัฒนา และทดลองนำน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์หรือปาล์มดีเซล มาทดลองใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลของกองงานส่วนพระองค์ ที่พระราชวังไกลกังวล จากความสำเร็จดังกล่าว ใน วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2544 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัว ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้นายอำพล เสนาณรงค์ องคมนตรี เป็นผู้แทนพระองค์ ยื่น จดสิทธิบัตร ณ กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ ในพระปรมาภิไธยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ชื่อ ที่แสดงถึงการประดิษฐ์คือ “การใช้ น้ำมันปาล์มกลั่นบริสุทธิ์ เป็นน้ำมัน เชื้อเพลิงเครื่องยนต์ดีเซล” สิทธิบัตรเลขที่ 10764  นับจากนั้นต่อมาหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และบริษัทผู้ค้าน้ำมัน ร่วมมือกันพัฒนาหน่วยผลิตต้นแบบในหลาย ๆ โครงการอย่างต่อเนื่อง จนสามารถผลิตได้ในเชิงพาณิชย์

          สถาบันวิทยาศาสตร์ และเทค โนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ได้สนองแนวพระราชดำริ โดยได้รับการสนับสนุนจากกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) กระทรวงพลังงาน ให้ดำเนินงาน “โครงการศึกษาออกแบบการจัดตั้งโรงงานผลิตไบโอดีเซลนำร่องระดับชุมชน”

          ปัจจุบันได้พัฒนาเครื่องต้นแบบผลิตไบโอดีเซลแบบต่อเนื่อง จนได้ไบโอดีเซลที่มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล มีกำลังการผลิต 150 ลิตรต่อวัน อีกทั้งสามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก และสามารถใช้เป็นฐานสำหรับการออกแบบโรงงานผลิตไบโอดีเซลขนาดกำลังการผลิตระดับโรงงาน บริษัท บางจากฯ จึงได้ขยายผลการผลิตไบโอดีเซล เพื่อลดค่าใช้จ่ายให้กับประชาชน ปัจจุบันประเทศไทยมีปริมาณการใช้น้ำมันดีเซลสูงถึงวันละ 50 ล้านลิตร โดยร่วมมือกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ (มอ.) วิทยาเขตหาดใหญ่ ก่อสร้างหน่วยผลิตไบโอดีเซลในบริเวณโรงกลั่นน้ำมันบางจาก ซึ่งใช้น้ำมันพืชที่ใช้แล้วเป็นวัตถุดิบ มีกำลังการผลิต 20,000 ลิตรต่อวัน ในปีหน้า คนไทยจะได้ใช้ไบโอดีเซลทั่วถึงทุกปั๊มน้ำมัน ล่าสุด รมว. พลังงาน ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ได้สั่งการให้กรมธุรกิจพลังงานเร่งออกมาตรการบังคับให้บริษัทผู้ค้าน้ำมันทุกแห่งจะต้องจำหน่ายน้ำมันไบโอดีเซล B 2 (ดีเซล 98% ไบโอดีเซล 2%) แทนการจำหน่ายน้ำมันดีเซลในปั๊มน้ำมันทั่วประเทศตั้งแต่วันที่ 1 ก.พ. 2551 โดยมาตรการดังกล่าวถือเป็นส่วนหนึ่งของการเร่งรัดแผนพลังงานทดแทน และสนองพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงเน้นให้ประเทศไทยหันมาใช้น้ำมันไบโอดีเซล

เปลือกผลยางพารา  :  จากการศึกษาพบว่า เปลือกผลยางพาราจะให้ถ่าน ร้อยละ 26.18 ของน้ำหนักเปลือกผลยางพารา ใช้เวลาการเผาไหม้จนหมดน้อยที่สุด 32.33 นาที น้ำหนักขี้เถ้า ร้อยละ 3 สามารถดูดซับไอโอดีนได้ 0.93 มิลลิกรัม

น้ำยางพารา  :  สามารถนำไปผลิตเป็นสินค้าได้หลากหลาย และเป็นสินค้าที่สร้างรายได้ให้กับประเทศเป็นอย่างมาก มีการส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศมานานหลายร้อยปี ปัจจุบัน รัฐบาลได้มีการจัดตั้งโรงงานที่รับซื้อน้ำยางจากเกษตรกร และนำมาแปรรูปตามชนิดของยาง และผลิตภัณฑ์ต่างๆ ดังนี้
         ยางแท่ง STR 20  สามารถนำไปผลิตอุปกรณ์ต่างๆ ดังนี้ 
             - ล้อรถยนต์, สายพานต่าง ๆ, ยางรองพื้น, ยางรองคอสะพาน, ยางกันกระแทก ฯลฯ
         ยางแท่ง STR 5L  สามาถนำไปผลิตอุปกรณ์ต่างๆ ดังนี้
             - ล้อเครื่องบิน, ล้อยางเรเดียมทุกชนิด, พื้นรองเท้า, ยางรัดของ, ลูกกอล์ฟ ฯลฯ
          ยางเครป  ามารถนำไปผลิตอุปกรณ์ต่างๆ ดังนิ้
             - กาว, พื้นรองเท้า, จุกขวด, พลาสเตอร์ยา, ผ้าก๊อต ฯลฯ
          น้ำยางข้น  สามารถผลิตอุปกรณ์ต่างๆ ดังนี้
             - ถุงมือ, ลูกโป่ง, ถุงยางอนามัย, ที่นอนฟองน้ำ, เครื่องมือทางการแพทย์ ฯลฯ

ภาพตัวอย่างบางส่วนจากผลิตภัณฑ์น้ำยางพารา













** นวัตกรรมล่าสุด จากการวิจัยพบว่า ในน้ำยางพารามีสารที่สามารถนำไปทำเครื่องสำอางเพื่อรักษาผิวพรรณให้ขาวใส เนียน และเต่งตึงขึ้น และได้ทำการยื่นจดสิทธิบัตรภูมิความรู้ของคนไทยเรียบร้อยแล้ว



** (ข้อมูลครีมหน้าขาวจาก รศ.ดร.รพีพรรณ วิทิตสุวรรณกุล ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ ผู้ประดิษฐ์ครีมเสริมสุขภาพผิวจากยางพารา)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น